ยินดีต้อนรับครับ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อก 28 ท่าฝึกโยคะ (จริงๆ แล้วมี 40-50 ท่า) ตามคำกล่าวที่ว่า "สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอาเอง" ลองทำตามกันดู เพื่อสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง แค่ขยับก็เท่ากับออกกำลังกายครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของโยคะ

ประวัติความเป็นมาของโยคะ
การฝึกโยคะนี้ได้มีมานานหลายพันปีแล้ว   ในสมัยโบราณนั้นมนุษย์ได้ค้นคว้าเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับความเข้าใจในความ เป็นอยู่ของตนเอง  อดีตมีการจารึกถ้อยคำด้วยตัวอักษรความรู้ที่สำคัญๆทั้งหมดถูกส่งผ่านคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งในรูปแบบของนิทาน  ด้วยวิธีการเช่นนี้  ความรู้ต่างๆจึงได้สะสมขึ้นและวัฒนธรรมต่างๆได้พัฒนาขึ้นมา  และนี่คือวิธีการที่การฝึกโยคะได้ถ่ายทอดมาถึงปัจจุบันในหุบเขาแห่ง  อินดัส  วอลเลย์   นักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลักและศิลปะรูปปั้นที่แสดงถึงการฝึกโยคะ  ศิลปะเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยประชาคมที่มีความเจริญเป็นอย่างสูง  ซึ่งเจริญอยู่ในพื้นที่แถบนั้นช่วง  2000  และ1000 ปีก่อนคริสศักราช(ปัจจุบัน  คือส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน)
นักปราชญ์ชาวฮินดูคนหนึ่งชื่อว่า   พาตานจาลี  เป็นคนแรกที่ปรับปรุงการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน  เขาเขียนสูตรของการฝึกโยคะเป็นหัวข้อ 8 หัวข้อสั้นๆ  หัวข้อเหล่านี้เชื่อว่าได้ถูกเขียนขึ้นเมื่อ  200 ปีก่อนคริสศักราช  หัวข้อเหล่านี้อ่านแล้วเข้าใจง่าย
ปัจจุบันนี้  โยคะเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวตะวันตก  ตามเมืองใหญ่ๆ  ส่วนมากจะมีการเรียนการสอนวิชาโยคะ   เพราะโยคะเป็นการฝึกที่อ่อนโยน  ปลอดภัยและผ่อนคลายความกดดันในชีวิตประจำวัน  จนถือได้ว่าโยคะเป็นความบันเทิงที่น่าพอใจของคนยุคใหม่

โยคะคืออะไร 

โยคะ คือ การบริหารกาย ลมหายใจ และ การผ่อนคลาย (อาสนะ และ ปรารณายาม) โดยเว้นหรือข้ามส่วนที่เป็นการฝึกจิตโดยตรง ขณะเดียวกันยังคงแฝงนัยแห่ง การฝึกจิดโดยอ้อมอยู่อย่างครบถ้วน 
คำว่า อาสนะ มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า อาส ซึ่งหมายถึง มีอยู่ อาศัยอยู่ใน นั่ง เงียบ ๆ อยู่อาศัย พำนัก ตามศัพท์ อาสนะ หมายถึง การนั่งหรือนั่งในท่าใดท่า หนึ่ง ในเรื่องโยคะอาสนะ หมายถึง ท่าและตำแหน่งตางๆ ในการฝึกโยคะ เช่น การยืนด้วยศีรษะ (ศีรษะอาสนะ) ท่าดอกบัว (ปัทมอาสนะ) ฯลฯ 
อาสนะนับเป็นหนึ่งในแปดแขนงของโยคะแบบดั้งเดิม ในตำราโยคะสูตร มีส่วนที่ ว่าด้วยปรัชญาของโยคะ คือ "ปธังชลี" ซึ่งให้คำจำกัดความอาสนะด้วยคำ 2 คำ คือ เสถียร และสุขุม เสถียรหมายถึง ความมั่นคง ความคงที่ ความแน่วแน่ โดยมากจากราศัพท์ว่า สถ ซึ่งหมายถึงการยืน สุขุมหมายถึงการผ่อนคลาย สบาย ความสุขเมื่อจิตของกายอยู่ในสภาวะที่ตรงข้ามกับเสถียรและสุขุม กล่าวคือ อยู่ในสภาวะไม่คงที่จำกัด ร้อนรนและไม่มีสมาธิจะทำให้เรามีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตอย่างยาก ลำบาก ขัดแย้ง เครียด และขาดความสุข การฝึกโยคะช่วยสร้างความคงที่และผ่อนคลายที่สัมผัสได้ ผ่านจิตของกาย อันจะก่อประโยชน์ทั้งด้านสมาธิและชีวิตประจำวันโดยทั่วไป 
การฝึกโยคะนั้นต่างจากการออกกำลังกายแบบอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมกัน เช่น แอโรบิค ยกน้ำหนัก หรือวิ่งอย่างสิ้นเชิง จุดประสงค์ของการฝึกอาสนะไม่ใช่การพัฒนาความแข็งแรงของกล้าม เนื้อ หรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ (แม้โยคะจะมีประโยชน์เช่นนั้นด้วยก็ตาม) แต่โยคะมีจุด ประสงค์เพื่อฟื้นฟูจิตของกายให้กลับมาสู่สภาวะความเป็นอยู่ที่ดี ผ่อนคลาย และตื่นตัวอยู่เสมอ 
การฝึกโยคะมีผลต่อจิตของกายในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านร่างกายโดยผ่อนคลาย รักษา และสร้างความแข็งแรง ยืดเส้นยืดสายระบบกระดูก กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ ระบบการย่อยอา หาร ต่อมต่างๆ ในร่างกาย และระบบประสาท ผลทางด้านจิตใจ จะเกิดผ่านการสร้างจิตใจที่สงบ ความตื่นตัวและสมาธิ ผลทางด้านจิตวิญญาณ คือ การเตรียมพร้อม สำหรับการทำสมาธิ และสร้างความแข็งแกร่งจาก "ภายใน"

โยคะภูมิปัญญาของคนอินเดียโบราณ   ถือกำเนิดมาประมาณ 5,000 ปี ดินแดนแห่งชมพูทวีป ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมและเป็นแหล่งกำเนิดความรู้ในศาสนาต่างๆ ที่เจริญมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  โยคะ เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาและศาสนาฮินดูอย่างแนบแน่น โดยมีแนวคิดหลักในการดำเนินชีวิต ที่ค้นหาการบรรลุแจ้งในสัจธรรม (ความเป็นจริง ความมีอยู่จริง) เพื่อนำไปสู่ความสุขอันแท้จริงของชีวิต
เริ่มจากประวัติโดยสังเขป:-
ยุคดั้งเดิม (Classic) ประมาณ 5,000 ปี
พบหลักฐานโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุด ในผนังถ้ำ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียมาตั้งแต่ยุคอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ    เป็นภาพประทับบนหินที่แสดงท่าโยคะ ฝึกสมาธิ
บุคคลที่ก่อกำเนิดโยคะหรือที่เรียกว่า "บิดาแห่งโยคะ" คือท่านมหาฤาษีปตัญชลี ท่านได้เขียนคัมภีร์โบราณเล่มแรก ชื่อคัมภีร์โยคะสูตร (เนื้อหาไม่มีการฝึกกาย มีแต่เรื่องทฤษฎีของสมาธิ ผลที่ได้รับ    และการนำไปสู่การหลุดพ้น

ยุคกลาง (Medieval) ค.ศ.700 – 1200
เป็นยุคที่ถกเถียงกันในแนวคิด หลักปรัชญาและ ความเชื่ออันหลากหลาย  จากยุคปรัชญา เวทานตะ (Vedanta)สู่อีกแนวคิดหนึ่งเรียกว่า "ตันตระ" จากตันตระ พัฒนาเป็น "หฐโยคะ"ซึ่งกล่าวถึง การฝึกกายและฝึกลมหายใจของตน เพื่อปลุกพลังงานในร่างกายให้ตื่นตัวสูงขึ้น นำไปสู่สมาธิ     "หฐโยคะ" เชื่อว่าในร่างกายมนุษย์ มีพลังงานที่เรียกว่า "ปราณ" (Prana) พลังที่เรามองไม่เห็น พลังที่เราอาจจะรู้สึกได้ด้วยตัวของเราเองเมื่อเราฝึกมาระดับหนึ่ง   พลังปราณนี้จะไหลเวียนตามช่องคลอง  ที่เรียกว่า "นาดี" (ช่องทางเดินในช่องท้อง) หมายถึง  พลังจากจักกระที่ก้นกบสู่จักกระที่ศีรษะ ซึ่งมีประมาณ 72,000 นาดี ในร่างกายมนุษย์   และมี "นาดี" 3 เส้นหลัก คือ สุชุมนา อิด้า และ ปิงคลา จุดที่ตัดกันระหว่าง 3 เส้นหลักนี้  เรียกว่า "จักกระ"

ยุคใหม่ (Modern)
ก่อนเข้าสู่ยุคใหม่  เป็นช่วงยุคมืดของประเทศอินเดีย เนื่องจากผ่านเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ   ศิลปวิทยาการต่างๆไม่ได้รับการฟื้นฟู โดยอินเดียถูกรุกรานจากพวกมุสลิม และตกเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมนานถึง 300 ปี   ต่อมาอินเดียตกเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษอีก 150 ปี
จากแรงกดดันมานาน ผู้นำกลุ่มหรือนักคิดชาวอินเดีย เริ่มฟื้นฟูภูมิปัญญาดั้งเดิม โยคะจึงได้เข้ามามีบทบาท เพื่อปลุกพลังประชาชนและสร้างพลังให้ชาวอินเดียลุกขึ้นต่อต้านผู้บุกรุกด้วย วิธิ "อหิงสา"   ในยุคนี้เอง ประมาณปีค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นยุคใหม่ของโยคะ  โยคะเริ่มเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักของชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตก ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษและเริ่มเผยแพร่ออกนอกประเทศอินเดีย

ยุคปัจจุบันหรือยุคร่วมสมัย (Contemporary)
จวบจนอินเดียได้รับเอกราช เมื่อปีค.ศ.1945 โยคะเริ่มมีบทบาทในภาครัฐบาลมากขึ้นตามลำดับ  จนกระทั่งปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาสังคม  กระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้บรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย    ตลอดจนกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัว โดยกรมระบบการแพทย์อินเดีย   ได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูผู้ป่วย

1 ความคิดเห็น:

ชม Video โยคะ

โยคะสำหรับผู้เริ่มต้น